วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

653. Acute pulmonary embolism [ต่อจาก 1 กค. 53]

Acute pulmonary embolism [ต่อจาก 1 กค. 53]
Review article     NEJM    July 15, 2010

การประเมินเบื้องต้นเพื่อวินิจฉัย ขึ้นอยู่กับอาการทางคลินิก (Wells and revised Geneva scores) ผู้ที่อาการรุนแรง (hemodynamically unstable) หมายถึงการมีภาวะช็อคหรือมีความดันโลหิตตัวบนน้อยกว่า 90 มม.ปรอท หรือความดันโลหิตลดลงมากกว่า 40 มม.ปรอท เป็นเวลานานกว่า 15 นาที (ในกรณีไม่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะขาดสารน้ำและการติดเชื้อในกระแสเลือด) ถ้าไม่มี multidetector CT หรือผู้ป่วยมีไตวายหรือแพ้สารทึบรังสีที่จะฉีด การตรวจด้วย ventilation–perfusion scanning ก็เป็นทางเลือก ในผู้ป่วยที่มีทางคลินิกที่มีโอกาสสูงที่จะเป็น acute pulmonary embolism และมีการเพิ่มของระดับ D-dimer แต่ตรวจด้วย multidetector CT แล้วไม่พบ ควรจะทำ venous ultrasonography ต่อ ในขณะที่มีอาการหนักรุนแรงร่วมกับการมี right ventricular dysfunction การให้ยาเพื่อละลายลิ่มเลือดถือเป็นการรักษาที่เหมาะสม ส่วน multidetector CT ควรจะทำเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว ในผู้ป่วยที่สามารถทำ percutaneous embolectomy ให้ทำการตรวจ pulmonary angiography เพื่อยืนยันการวินิจฉัยก่อนทำ หลังจากพบว่ามี right ventricular dysfunction
Diagnostic Workup for Pulmonary Embolism

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น