วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

690. Pulsus paradoxus

Pulsus paradoxus มีกลไกการเกิด สาเหตุ และการตรวจวินิจฉัยอย่างไร

-เกิดจากมีการเพิ่ม intra-pericardial pressure จนทำให้เกิด decrease in pulse pressure ระหว่างหายใจเข้า โดยปกติระหว่างหายใจเข้า systemic venous returnจะมีการเพิ่มขึ้น right heart volume เพิ่มขึ้น แต่systemic volume ลดลง ทำให้วัดsystemic arterial blood pressureลดลง แต่ไม่เกิน10 มิลลิเมตรปรอท ระหว่างหายใจเข้า.
-ในผู้ป่วยที่มีCardiac tamponade ระหว่างหายใจเข้าก็มีการเพิ่มขึ้นของvenous return แต่ cardiac volumeถูกจำกัดด้วย แรงดันภายนอกของ tamponade จึงมีการทดแทนโดย right heart volume เพิ่มโดยเบียดดัน interventricular septumทำให้left ventricular strike volume ลดลง systemic arterial blood pressure จึงลดต่ำมากกว่าปกติ คือระหว่างหายใจเข้า blood pressure ลดลงมากกว่า10 ม.ม.ปรอท
-แต่การพบpulsus paradoxicus อาจพบได้ในภาวะอื่นๆ นอกจาก pericardial tamponade ได้ เช่น COPD, RV infarct, pulmonary embolism, restrictive cardiomyopathy, extreme obesity, tense ascites.
-เพื่อต้องการวัด paradoxical pulse ผู้ป่วยควรนอน อยู่ในท่าสบาย ศีรษะ อยู่ประมาณ 30ถึง 45 องศา (ซึ่งอาจทำได้ยากในผู้ป่วย COPD, severe asthma หรือ cardiac tamponade) เริ่มต้นการวัด โดย การ inflate cuff ขึ้นไปจนไม่ได้ยินเสียงอะไร จากนั้น deflate cuff จนกระทั่งได้ยินเสียงชีพจรเสียงแรก โดยที่เสียงนี้ จะ มีความสอดคล้องกับการหายใจออก (คือได้ยินเมื่อหายใจออก และ หายไปเมื่อหายใจเข้า ซึ่งหมายความว่าเป็น systolic blood pressure ในช่วงหายใจออก จากนั้นให้ deflate cuff จนกระทั่งได้ยินเสียงชีพจรตลอด (ทั้งตอนหายใจเข้าและหายใจออก ซึ่งหมายความว่าเป็น systolic blood pressure ในช่วงหายใจเข้า) ด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้เราสามารถตรวจพบ pulsus paradoxus ได้

http://www.ps.si.mahidol.ac.th/psboard/psboard_Question.asp?GID=1280
http://www.taem.or.th/node/156

2 ความคิดเห็น: