วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,633 ความสำคัญและข้อควรทราบของ mean arterial pressure (MAP)

อาจจะสงสัยในใจว่าทำไมต้องคำนวนและนำค่า mean arterial pressure มาใช้ มีความแตกต่างการการวัดค่าความดันตามปกติอย่างไร จากการสืบค้นพบดังนี้ครับ
ความดันเลือดจะไม่คงที่ มีช่วงที่สูงสุดคือ systolic pressure และช่วงที่ต่ำสุดคือ diastolic pressure
ดังนั้นการใช้ mean arterial pressure จึงเป็นการเฉลี่ยใช้ค่าที่เป็นผลโดยรวม ไม่ใช่ช่วงที่ความดันสูงสุดหรือต่ำสุด
เป็นการดู  perfusion pressure ของอวัยวะในร่างกาย เชื่อว่า MAP ที่มากกว่า 60  mmHg จะเพียงพอที่จะทำให้เลือดใหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง เช่น สมอง ไต เส้นเลือดแดงโคโรนารี อื่นๆ ได้อย่างต่อเนื่องเพียงพอ แต่ถ้าต่ำลงจะทำให้อวัยวะนั้นๆ ขาดเลือดได้  การคำนวนไม่ใช่การเอา (DBP+SBP)/2 แต่สูตรคือ [(2xdiastolic)+systolic]/3
ที่มาของสูตรคือ การบีบตัวและคลายตัวของหัวใจจะเป็นสัดส่วนระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน โดยช่วงเวลาที่หัวใจใช้ในการบีบตัวจะกินเวลาแค่ 1 ใน 3 ในขณะที่ช่วงที่หัวใจคลายตัวจะกินระยะเวลาที่ยาวมากกว่า คือคิดเป็น 2/3
เมื่อเราทราบดังนี้แล้ว ค่าเฉลี่ยของแรงดันเลือดจึงเป็นผลมาจากค่า DBP มากกว่าค่า SBP จึงต้องใช้การหารเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก นั่นคือให้ตัวคูณของค่า DBP เป็น 2 และตัวคูณของค่า SBP เป็นหนึ่ง หารด้วยผลรวมของสัดส่วนตัวคูณของทั้งสอง นั่นคือ 2+1 = 3
ได้ออกมาเป็นสูตร (2xDBP)+(1xSBP) /3 =  [(2xdiastolic)+systolic]/3
ค่าปกติบางอ้างอิงใช้ที่ 70-110 mmHg บางอ้างอิงใช้ที่ 70 - 100 mm Hg บางอ้างอิงใช้ที่ 70 - 105 mmHg (และส่วนใหญ่ค่อนข้างตรงกันโดยบอกว่า ค่าที่มากกว่า 60  mmHg จะเพียงพอต่อการนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาในข้างต้น)

Ref:
http://www.kluaynamthai.com/nursery/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2511
http://en.wikipedia.org/wiki/Mean_arterial_pressure
http://www.ps.si.mahidol.ac.th/PSBoard/psboard_Question.asp?GID=747
http://www.buzzle.com/articles/mean-arterial-pressure.html

3 ความคิดเห็น: