วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,635 กลไกการเกิด EKG แบบ Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW)

Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW) เกิดขึ้นเนื่องจากสัญญาณไฟฟ้าจาก atrium  ถูก
ส่งผ่านมายัง ventricle โดยทั้งทาง accessory pathway และทาง AV node (โดยจะเรียก accessory pathway นี้ว่า Bundle of Kent หรือ Kent bundle pathway)
แต่เนื่องจากสัญญญาณไฟฟ้าจะไม่ถูก delayed ภายใน accessory pathway ทําให้สัญญาณไฟฟ้าที่ผ่านทาง accessory pathway มากระตุ้น ventricle  ได้เร็วกว่าปกติทำให้ช่วง PR สั้นลง(ไม่มีการชะลอสัญญาณ) และจะกระตุ้นให้เกิด depolarization ของ ventricle อย่างช้าๆ (ventricular preexcitation) จึงได้ QRS complex ตัวกว้างๆ
ในขณะที่สัญญาณที่ลงมาตามปกติผ่าน AV node แม้จะเสียเวลาที่ AV node ไปบ้าง แต่ต่อมาก็สามารถแพร่กระจายไปได้ทั่ว ventricle อย่างรวดเร็วตามระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ (conductive system) จนมาบรรจบกับบริเวณที่ถูก depolarization ด้วย Kent bundle pathway อยู่ก่อน ทำให้เกิดการผสมกันของ QRS ตัวกว้างๆ ในช่วงแรกและ QRS ตัวแคบๆ ที่มาตามปกติ เกิดการหักเหของมุมของ QRS เกิดเป็น delta wave ซึงเราเรียก EKG ลักษณะนี้ว่า Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW)
เพิ่มเติม
-Accessory pathway อาจเรียกว่า bypass tract
-Accessory pathway หรือ bypass tract เกิดเนื่องจากการที่ฉนวนที่กั้นระหว่าง atrium และ ventricle = การมีรูรั่ว และเกิดทางเชื่อม ซึ่ง pathway นี้จะไม่มีคุณสมบัติในการชะลอสัญญาณเหมือน AV node สัญญาณจึงลงมากระตุ้น ventricle ได้เร็วกว่าปกติ


Ref: http://www.pha.nu.ac.th/apirukw/ambu/uploads/E831B_Handout_Pharmacotherapeutics_ARH_50.pdf
Electrocardiography for medical student อ. อภิชาต สุคนธสรรพ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น