วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,910 แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาก้อนที่ต่อมธัยรอยด์ (thyroid nodules)

American Association of Clinical Endocrinologists and Associazione Medici Endocrinologi medical guidelines for clinical practice for the diagnosis and management of thyroid nodules

ก้อนที่ต่อมธัยรอยด์ (thyroid nodules) พบได้บ่อยและมักไม่ใช่เนื้องอกร้าย ข้อมูลปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าอัตราความชุกของก้อนธัยรอยด์คือ 3% ถึง 7% ในอเมริกาเหนือ และความชุกสูงเป็น 50% จากการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์หรือข้อมูลที่ได้จากการชันสูตรศพ การตรวจที่มีความไวสำหรับ thyrotropin (thyroid-stimulating hormone or TSH) การทำ fine-needle aspiration (FNA) และการมีความพร้อมของอัลตร้าซาวด์ความละเอียดสูงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการให้การตรวจรักษาก้อนที่ต่อมธัยรอยด์
บทความนี้ได้รับการจัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือกันระหว่าง American Association of Clinical Endocrinologists (AACE) และ Associazione Medici Endocrinologi (AME) โดยคณะทำงานส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของ AACE ซึ่งได้ใช้แนวทางของ AACE สำหรับแนวปฏิบัติทางคลินิกร่วมกับลำดับของการมีหลักฐาน การเชื่อมโยงแนวทางกับข้อแนะนำที่หนักแน่น
โดยข้อสังเกตที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ 
แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางครั้งผู้ป่วยอาจมีการกลืนลำบาก, การออกเสียงพูดผิดปกติ, มีการกดเบียด, ปวดหรือมีอาการของไทรอยด์เป็นพิษหรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง การที่ไม่มีอาการไม่ได้หมายความว่าจะสามารถตัดมะเร็งออกไปได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทบทวนปัจจัยเสี่ยงของมะเร็ง ไม่ควรใช้อัลตร้าซาวด์ในการตรวจคัดกรอง แต่ควรได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ในผู้ป่วยที่คลำพบต่อมไทรอยด์ การใช้อัลตร้าซาวด์และเข็มเจาะดูด ultrasound-guided FNA (US-FNA) ได้รับคำแนะนำสำหรับก้อนที่มีขนาดตั้งแต่10 มม. ขึ้นไป แต่ได้รับคำแนะสำหรับก้อนที่น้อยกว่า10 มม. เฉพาะในกรณีที่ข้อมูลทางคลินิกหรือลักษณะของอัลตร้าซาวด์เป็นที่น่าสงสัย การทำ FNA ต่อมไทรอยด์มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย และการแปลผลควรทำโดยพยาธิแพทย์ที่มีประสบการณ์ ผู้ป่วยที่มีก้อนธัยรอยด์ซึ่งไม่ได้เป็นมะเร็งควรได้รับการติดตาม และถ้าพบว่าเป็นมะเร็งหรือสงสัยควรจะได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด
การตรวจไทรอยด์สแกน (radioisotope scan) ของต่อมไทรอยด์จะเป็นประโยชน์หากระดับ TSH ต่ำหรือถูกกด การวัด TSH จากเลือดคือการตรวจเบื้อต้นทางห้องปฏิบัติการที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์และควรจะติดตามตามโดยการวัด free thyroxine หากค่า TSH อยู่ในระดับต่ำ และตรวจ thyroid peroxidase antibody ถ้าค่า TSH สูง
การฉีดเอทานอลผ่านทางผิวหนัง (percutaneous) จะเป็นประโยชน์ในการรักษาต่อมไทรอยด์ที่เป็นน้ำ (cystic thyroid lesions) ต่อมไทรอยด์ขนาดใหญ่และมีอาการอาจจะให้การรักษาโดยการผ่าตัดหรือใช้ radioiodine ไม่แนะนำการวัด calcitonin ในเลือดเป็นประจำ รวมถึงการมีข้อเสนอแนะสำหรับการรักษาไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์
เราเชื่อว่าแนวทางนี้จะเป็นประโยชน์ทางคลินิกกับแพทย์ระบบต่อมไร้ท่อ ศัลยแพทย์ต่อมไร้ท่อ กุมารแพทย์ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปซึ่งดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ แนวทางนี้มีความสมบูรณ์และสามารถนำไปปฏิบัติได้ รวมถึงมีการเสนอเหตุผลและสมดุลของคำแนะนำบนพื้นฐานของหลักฐานที่ดีที่สุด

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16596732

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น