วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,901 เหตุผลที่ใช้ยาแอนติโคลีนเอสเทอเรส (anticholinesterase) ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์

อ่านเรื่องโรคอัลไซเมอร์อยู่ จึงสรุปเหตุผลที่่ใช้ยาแอนติโคลีนเอสเทอเรส (anticholinesterase) หรืออาจเรียกว่ายา cholinesterase inhibitors ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์
จากสมมติฐานโคลิเนอร์จิก (cholinergic hypothesis) ซึ่งเชื่อว่าโรคอัลไซเมอร์เกิดจากการลดการสังเคราะห์สารสื่อประสาทชนิดแอซิทิลโคลีน (acetylcholine) โดยที่แอซิทิลโคลีนจะมีการสร้างที่ปลายประสาทโคลิเนอร์จิค
ซึ่งหน้าที่ของเซลประสาทโคลิเนอร์จิกนอกจากจะควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยเฉพาะระบบนอกปิรามิดแล้วยังควบคุมความเฉลียวฉลาด จากการศึกษาพบว่าว่าอเซทิลโคลินเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ความตื่นตัว ควบคุมการเคลื่อนไหว
ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์พบว่ามีการทำลายเซลล์ที่สังเคราะห์อเซทิลโคลิน ทำให้มีสติปัญญาเสื่อม หลงลืม
ดังนั้นแอนติโคลีนเอสเทอเรสจึงถูกใช้เพื่อลดอัตราการทำลายแอซิทิลโคลีน (acetylcholine; ACh) ทำให้เพิ่มปริมาณความเข้มข้นของแอซิทิลโคลีนในสมองเพื่อชดเชยกับการลดลงของแอซิทิลโคลีนอันเนื่องจากการตายของเซลล์ประสาท
โดยสมมติฐานโคลิเนอร์จิก (cholinergic hypothesis) เป็นสมมติฐานแรกสุดโดยเป็นหนึ่งในสามของสมมติฐานการเกิดโรคอัลไซเมอร์โดยอีกสองโรคอัลไซเมอร์ได้แก่สมมติฐานแอมีลอยด์ (amyloid hypothesis) สมมติฐานโปรตีนเทา (tau hypothesis)

Ref: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
http://www.bcnlp.ac.th/Anatomy/page/apichat/nervous/page/neuro-transmitter.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น