วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,912 Radical prostatectomy versus observation for localized prostate cancer

Original article 
N Engl J Med    July 19, 2012

ประสิทธิภาพของการผ่าตัดเมื่อเทียบกับการสังเกตติดตามในผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแบบเฉพาะที่ (localized prostate cancer) ซึ่งตรวจพบโดยการตรวจ prostate-specific antigen (PSA) ยังไม่เป็นที่ทราบ
วิธีการศึกษา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1994 ถึงมกราคม 2002 มีการสุ่มผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแบบเฉพาะที่ 731 คน (​​อายุเฉลี่ย 67 ปี; ค่า PSA มัธยฐาน 7.8 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร) ที่ได้รับการทำ radical prostatectomy หรือการรักษาโดยสังเกตติดตามจนถึงเดือนมกราคม 2010 โดยผลลัพธ์หลัก (primary outcome) คือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ส่วนผลลัพธ์รอง (secondary outcome) คือการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมาก
ผลการศึกษา ในระหว่างการติดตามเฉลี่ย 10.0 ปี พบว่า 171 คนจาก 364 คน (47.0%) ที่ได้รับการทำ radical prostatectomy เสียชีวิต เมื่อเทียบกับ 183 คนจาก 367 คน (49.9%) ที่ได้รับการสังเกตติดตาม (hazard ratio, 0.88; 95% confidence interval [CI], 0.71 to 1.08; P=0.22; absolute risk reduction, 2.9 percentage points)
ใน radical prostatectomy มี 21 คน (5.8%) เสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากหรือจากการรักษา เปรียบเทียบกับ 31 คน (8.4%) ที่ได้รับการสังเกตติดตาม ((hazard ratio, 0.63; 95% CI, 0.36 to 1.09; P=0.09; absolute risk reduction, 2.6 percentage points) ผลที่เกิดจากการรักษาในทุกสาเหตุการเสียชีวิตและมะเร็งต่อมลูกหมากไม่แตกต่างกันตามอายุ เชื้อชาติ เงื่อนไขที่มีร่วมกัน ระดับสภาวะความสามารถของผู้ป่วยทีเกิดจากมะเร็ง (performance status) หรือคุณลักษณะทางด้านจุลพยาธิวิทยาของเนื้องอก
Radical prostatectomy มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุในผู้ที่มีค่า PSA สูงกว่า 10 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร  (P=0.04 for interaction) และอาจจะเป็นไปได้ในผู้ที่มีความเสี่ยงของเนื้องอกในระดับปานกลางหรือสูง (P=0.07 for interaction) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายใน 30 วันหลังจากการผ่าตัดเกิดขึ้น 21.4% ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตด้วย 1 คน
สรุป ในผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแบบเฉพาะที่ ซึ่งตรวจพบในช่วงยุคต้นของการตรวจ PSA, radical prostatectomy ไม่ได้ลดการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญจากทุกสาเหตุหรือการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสังเกต โดยการติดตามเป็นเวลาอย่างน้อย 12 ปี ซึ่งความแตกต่างอย่างสมบูรณ์มีค่าน้อยกว่า 3 percentage points

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1113162

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น