วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,892 ข้อควรทราบเรื่องไตวายเรื้อรังกับภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ

อ่านเรื่่อง electrolyte and acid-base balance disorders in advanced chronic kidney disease จาก National Center for Biotechnology Information พบเนื้อหาของไตวายเรื่อรังกับภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ คิดว่าน่าสนใจจึงนำมาลงไว้ ส่วนเนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจจะพิจารณานำมาลงอีกทีครับ

ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำปกติมักจะไม่เกิดขึ้นถ้าอัตราการกรองไต (GFR) มากกว่า 10 มล./นาที แต่ถ้าเกิดขึ้นควรพิจารณาว่ามีการบริโภคน้ำที่มากเกินไปหรือมีสาเหตุที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องแรงดันออสโมซิส (nonosmotic) ที่ก่อให้เกิดการหลั่ง vasopressin โดยอาจเกิดจากสิ่งเร้าเช่น ความเจ็บปวด, การใช้ยาระงับความรู้สึก, ภาวะขาดออกซิเจนหรือภาวะที่สารน้ำในร่างกายไม่เพียงพอ
ปริมาณโซเดียมโดยรวมของร่างกายเป็นปัจจัยหลักของปริมาณสารน้ำนอกเซล ดังนั้นการรบกวนสมดุลของโซเดียมจะนำไปสู่​​สถานการณ์ทางคลินิกของการพร่องปริมาตรน้ำหรือน้ำที่มากเกินไป การพร่องปริมาตรน้ำเนื่องจากการสูญเสียโซเดียมจากไตเกิดขึ้นในขณะที่มีจำกัดปริมาณการบริโภคเกลืออย่างทันทีทันใดในภาวะไตวายเรื้อรังที่เป็นมากแล้ว (advanced CKD) ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในจุดนี้ด้วย ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยในโรคไตแบบ tubulointerstitial บางชนิด (salt losing nephropathies) การมีน้ำเกินเนื่องจากการคั่งค้างของโซเดียมอาจเกิดขึ้นกับอัตราการกรองไตต่ำกว่า 25 มล./นาทีและนำไปสู่การบวม ความดันโลหิตสูง และหัวใจล้มเหลว การใช้ยาขับปัสสาวะในภาวะที่มีน้ำเกินใน CKD เป็นประโยชน์ในคือเป็นการขับโซเดียมในปัสสาวะออก (natriuresis)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น