วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,921 Antibiotic prevention of acute exacerbations of COPD

Clinical therapeutics 
N Engl J Med   July 26, 2012

การกำเริบของปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD) แสดงให้เห็นว่าเกิดขึ้นพร้อมกับการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันจากเชื้อไวรัส ได้แก่ picornaviruses, influenza virus และ respiratory syncytial virus ในเวลาเดียวกัน เสมหะของผู้ป่วยที่มีปอดอุดกั้นเรื้อรังจะพบมีเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะมีสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง โดยเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเช่น Streptococcus pneumoniae, Haemophilus influenzae, Moraxella catarrhalis
หลักฐานเชื่อมโยงของแบคทีเรียต่อการกำเริบเฉียบพลันของ COPD ได้แก่ การค้นพบสายพันธุ์แบคทีเรียใหม่ 33% ในผู้ป่วยที่มีการกำเริบของ COPD ความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียที่เจริญอยู่ในทางเดินหายใจส่วนล่างและมีการเพิ่มของระดับของสารทีก่อให้เกิดขบวนการอักเสบ (เช่น tumor necrosis factor α, interleukin-6 และ interleukin-8) ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อแบคทีเรียของทางเดินหายใจขนาดเล็กและการกำเริบเฉียบพลัน และผลลัพธ์ที่ดีขึ้นหลังจากการให้ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม macrolide ได้แก่ erythromycin, clarithromycin และ azithromycin จะยับยั้งการรวมตัวกันของ RNA-directed protein โดยการจับกับ 50S subunit ของไรโบโซมในแบคทีเรีย นอกเหนือจากประสิทธิภาพของการเป็นยายาต้านจุลชีพแล้ว macrolides ยังแสดงให้เห็นถึงผลของการต้านการอักเสบและผลการควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน โดยจะแสดงให้เห็นว่ายาเหล่านี้ลดการผลิต cytokines ในปอด
ในการทดลองทางคลินิกส่วนใหญ่พบว่า 90% หรือมากกว่าของผู้ป่วยที่มีการกำเริบเฉียบพลันซึ่งได้รับการรักษาด้วย macrolides มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการตอบสนองทางคลินิก
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Pathophysiology and Effect of Therapy
Clinical Evidence
Clinical Use
Adverse Effects
Areas of Uncertainty
Guidelines
Recommendations
Source Information

อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMct1115170

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น