วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,932 การตรวจคัดกรองมะเร็งมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

การตรวจคัดกรองแบ่งประชากรออกเป็น 2กลุ่มคือ
1. กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง (high risk) ต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
2.  กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงปกติ (average risk) ต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

1.กลุ่มความเสี่ยงสูง (high risk) ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
  1. ผู้มีญาติลำดับแรกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  2. ผู้ที่มีประวัติPolyp
  3. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็น familial adenomatous polyposis หรือ hereditary non-polyposis coloncancer
  4. ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (Inflammator ybowel disease)
การสืบค้นโรคในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการตรวจคัดกรองจะแยกออกเป็น
A. ผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวเป็น Familial Adenomatous Polyposis (FAP)
B. ผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวเป็น Hereditary Non-Polyposis Colorectal Cancer (HNPCC)
C. ผู้ป่วยที่มีสมาชิกครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และไส้ตรงแต่ไม่เข้าเกณฑ์ Amsterdam
criteria สำหรับ HNPCC
D. ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease - IBD)
E. ผู้ป่วยที่มี Polyp ชนิด Tubular Adenoma
(ซึ่งแต่ละข้อจะมีรายละเอียดการตรวจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากอ้างอิง ที่ภาคผนวก ก)

2. กลุ่มความเสี่ยงปกติ (average risk) เป็นกลุ่มประชากรที่มีลักษณะต่อไปนี้
  1. ชายหรือหญิงที่อายุ50 ปีขึ้นไป
  2. ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง
  3. ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ได้แก่ ประวัติโรคลำไส้อักเสบ ulcerative colitis, polyp หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่
  4. ไม่มีอาการผิดปกติทางระบบลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
ทำกสรตรวจคัดกรองด้วยการตรวจทางทวารหนักด้วยนิ้วมือ (Digital Rectal Examination, DRE) และมีข้อแนะนำการปฏิบัติเพื่อการสืบค้นโรคเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1. การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Fecal Occult BloodTest, FOBT) ปีละครั้ง
2. การตรวจด้วย flexible sigmoidoscopy ทุก 5 ปี
3. การตรวจ double-contrastbarium enema ทุก 5-10 ปี
4. การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) ทุก 10 ปี
ทั้งนี้การเลือกวิธีการสืบค้นโรควิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถและข้อจำกัดของแต่ละสถานพยาบาล  เมื่่อการตรวจเพื่อสืบค้นโรคได้ผลออกมาเป็นผลบวกหรือผลลบก็จะมีคำแนะนำแนวทางปฏิบัติต่อไปตามแผนภาพในอ้างอิงต่อไป

Ref: http://www.nci.go.th/cpg/download%20lumsai/02.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น