วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,927 การคำนวน mean pulmonary arterial pressure โดยใช้ echocardiography เพื่อการวินิจฉัย pulmonary hypertension

มีการศึกษาพบว่าค่าความดันเ​ลือดในหัวใจห้องขวาจากการ​ตรวจ echocardiography มีค่าใกล้เคียงกันมากกับการต​รวจโดยการสวนหัวใจ (right heart catheterization: RHC) และใน​ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าสามารถนำมาใช้ในทางคลินิกแทนการตรวจ RHC ได้
ซึ่งการตรวจที่สำคัญประกอบด้วย
1. Right atrial pressure (RAp)
2. Pulmonary arterial systolic pressure (PASP)
3. Pulmonary arterial end-diastolic pressure (PAEDP)
4. Mean pulmonary arterial pressure (mPAP)
โดยค่าปกติต่างๆ มีดังนี้
• PASP ประมาณ 18-25 mmHg
• PAEDP ประมาณ 6-10 mmHg
• mPAP ประมาณ 12-16 mmHg
ซึ่งจะให้การวินิจฉัยฉัยภาวะ PH เมื่อ mPAP > 25 mmHg
mPAP สามารถทำการคำนวนได้โดย
1.ใช้สูตร คือ mPAP = PAEDP + 1/3 (PASP – PAEDP)
2.หา estimate mean RAP จาก IVC collapse ตามตารางด้านล่าง
3.การหา PASP จาก jet across TR valve ช่วง systole
∆PTR = RVSP – RAP
ดังนั้น RVSP = ∆PTR + RAP
(ปกติ RVSP = PASP ถ้าไม่มี PS หรือ RVOT)
4. หา PAEDP จาก jet across valve PR ช่วง diastole
PAEDP – RVEDP = ∆PPR
โดย RVEDP (= right ventricular end-diastolic pressure) ≈ RAP
ดังนั้นPAEDP = ∆PPR + RAP
5.เข้าสูตร mPAP = PAEDP + 1/3 (PASP – PAEDP)
6.หรือจะคำนวณ mPAP = 4VpeakPR ยกกำลัง2
(ซึ่งมาจาก bernouli equation)
∆P = 4V ยกกำลัง2
∆P = ความแตกต่างของความดันเลือดระหว่างห้องหัวใจ
V = ค่าความเร็วเลือดที่ผ่านรูเปิดระหว่างห้องหัวใจ
VpeakPR = peak velocity of early diastolic pulmonary regurgitation jet

                              การประเมินค่า RAp โดยในการดู respiratory collapse ใน IVC

อ้างอิงหรืออ่านต่อโดยละเอียด (การเขียนตัวย่อและสัญลักษณ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับเดิม เนื่่องจากเป็นความจำกัดในรูปแบบตัวอักษรของเว็บไซต์ เพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ของให้ดูในอ้างอิงประกอบด้วยครับ)
http://www.thaipha.org/site_data/users/13/chapter4.pdf
https://chestpmk.wordpress.com/2011/08/04/echo-in-pah/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น