วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

672. Hypomagnesemia

Hypomagnesemia พบได้เรื่อยๆ ใน ward มีแนวทางการรักษาอย่างไร

มักพบร่วมกับความผิดปกติของเกลือแร่ชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะ Hypokalemia และ Hypocalcemia และภาวะ Hypomagnesemia นี้ยังสามารถทำให้เกิดความผิดปกติของ neuromuscular system และระบบหัวใจ โดยเฉพาะ Cardiac arrhythmia ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินเช่นกันระดับ Magnesium ปกติในเลือด มีค่า 0.7 ถึง 1.0 mmol/L (1.7-2.4 mg/dL) โดย Hypomagnesemia ทำให้เกิด Hypokalemia จึงควรต้องตรวจระดับ magnesium เสมอ ในกรณีที่พบความผิดปกติ 2 ภาวะนี้ การไม่แก้ภาวะ magnesium ที่ผิดปกติด้วย จะทำให้การแก้ไขความผิดปกติ 2 ภาวะนี้ยากยิ่งขึ้น
Hypomagnesemia ทำให้เกิดความผิดปกติของ neuromuscular system ที่พบได้คือ weakness, tetany, muscle spasms ได้คล้ายภาวะ Hypocalcemia ความผิดปกติของ cardiovascular system ที่เกิดขึ้นได้บ่อย และเป็นที่รู้จักกันดี คือ Long QT interval ซึ่งจะทำให้เกิด torsade de pointes
การรักษา ภาวะ Hypomagnesemia ดังเช่นความผิดปกติของเกลือแร่ชนิดอื่น การรักษาขึ้นกับอาการและความรุนแรงของการขาดแมกนีเซียม ถ้าผู้ป่วยมีการขาดแมกนีเซียมในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง (serum magnesium 1.2-1.7 mg/dL) รักษาด้วยการรับประทานอาหารที่มีปริมาณแมกนีเซียมมากหรือรับประทานยาแมกนีเซียม ภาวะ Hypomagnesemia มักเกิดร่วมกับความผิดปกติของเกลือแร่ชนิดอื่น โดยเฉพาะ Hypokalemia และ Hypocalcemia ได้บ่อย จึงต้องประเมินและรักษาความผิดปกติของเกลือแร่ 2 ชนิดนี้ควบคู่กันไป
ถ้าผู้ป่วยมีอาการชักหรือ arrhythmia ที่เกิดจากภาวะ hypomagnesemia การรักษาโดยทันทีกระทำได้โดย ให้ MgSO4 1-2 grams (8-16 mEq ของ elemental Mg) ในเวลา 5-10 นาที จนกระทั่งไม่มีอาการ แล้วต่อด้วยขนาด 12 มิลลิกรัม (1 mEq) ต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือ 6 grams (48 mEq ของ Mg) drip ใน 24 ชั่วโมง (บางตำราแนะนำให้ขนาด 3-4 กรัม ทางหลอดเลือดในเวลา 12-24 ชั่วโมง) เพื่อจะคงระดับแมกนีเซียมในซีรั่มให้มากกว่า 1.2 mg/dL และเพื่อทดแทนแมกนีเซียมในเซลที่ลดลง นอกจากนี้ควรมีการติดตามระดับของแมกนีเซียมในซีรั่มเป็นระยะ เพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสมจนระดับแมกนีเซียมในซีรั่มคงที่ที่ประมาณ 1.3-1.5 mg/dL จึงเปลี่ยนทดแทนในรูปของยากิน (ระวัง compatibility ของสารละลาย MgSO4 กับ สารละลาย Ca บางชนิดด้วย)
การให้ Mg ควรระวังในผู้ป่วยไตวาย ควรลดขนาดของ dosage ลงครึ่งหนึ่ง ควรมีการเฝ้าระวังระดับ Mg ในเลือดอย่างน้อยวันละครั้ง ภาวะพิษจาก Hypermagnesemia จะเกิดขึ้นเมื่อระดับมากกว่า 3-4 mEq/L ทำให้เกิด hypotension, flushing, nausea, lethargy และ decreased deep tendon reflexes ถ้าระดับสูงมากๆ อาจมี muscle weakness มากจน respiratory compromise หรือ cardiac arrest ได้

เพิ่มเติม: ถ้ามีภาวะ torsades de pointes ร่วมกับ cardiac arrest ให้ 1 – 2 gm of MgSO4 IV push ใน 5 – 20 นาที ถ้ามี torsades de pointes เป็นระยะ ๆ แต่ไม่มีภาวะ cardiac arrest ให้ MgSO4 IV ในเวลา 5 – 60 นาที ถ้ามีอาการชักให้ 2 gm MgSO4 IV ใน 10 นาที การให้ calcium ร่วมด้วยจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีทั้งภาวะ hypomagnesemia และ ภาวะ hypocalcemia

Ref:
http://www.taem.or.th/node/133
http://www.thaicpr.com/index.php?q=book/export/html/26
http://home.kku.ac.th/medicine/I-San/10.1/files/07-Electrolyte.pdf

4 ความคิดเห็น:

  1. เรสมีแนวทาง approach hypomagnesemia อย่างไรครับ อยากรู้จริง ๆ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณครับ เดี๋ยวจะลองหาดูนะครับ

    ตอบลบ
  3. ลิ้งค์นี้มีแนวทาง approach แต่เขียนเป็นแบบบรรยายไว้ ถ้าว่างแล้วจะลองสรุปอีกครั้ง พอดีวันนี้อยู่เวรครับ

    http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20081299

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ13/5/55 22:27

    ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ