วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

1,586. Cognitive and neurologic outcomes after coronary-artery bypass surgery

Review article
Current concepts
N Engl J Med    January 19, 2012  

แม้ว่าพยาธิกำเนิดของการเกิดผลข้างเคียงทางระบบประสาทภายหลังจากการทำ CABG อาจมีหลายปัจจัยที่มาเกี่ยวข้อง และมีหลักฐานที่เพิ่มมากขึ้นของปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองและโรคของระบบหลอดเลือดที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะมีผลกระทบมากขึ้นในทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อระบบประสาทมากกว่าตัวแปรที่เกี่ยวกับกระบวนการผ่าตัด เช่นในการใช้ปั๊ม (on-pump surgery) หรือการผ่าตัดที่ไม่ใช้ปั๊ม (off-pump surgery)
ดังนั้นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองหลังการผ่าตัดหรือการลดลงของการรับรู้ (cognitive decline) จึงไม่ควรเป็นปัจจัยในการเลือกการรักษาด้วยการผ่าตัดสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจ
  กลวิธีในการลดอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองภายหลังการผ่าตัดและการลดลงของการรับรู้ ควรเน้นไปที่การประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีก่อนการผ่าตัดด้วยความระมัดระวัง เช่น เช่นประวัติของโรคโลหิตจางหรือการเคยมีโรคหลอดเลือดสมอง
 มีความแพร่หลายมากขึ้นทั้งในช่วงก่อนการผ่าตัดและในระหว่างการผ่าตัดในการที่จะประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เฉพาะเจาะจง เช่น ascending aortic atherosclerosis ทำให้ปัจจุบันเป็นไปได้ที่ใช้วิธีการผ่าตัดที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคนที่มีปัจจัยความเสี่ยงสูง ซึ่งน่าจะทำให้ลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในช่วงการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด
ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือการมีความบกพร่องของการรับรู้เล็กน้อยก่อนการผ่าตัดอยู่แล้ว การที่ไม่สามารถให้การวินิจฉัยการสูญเสียการรับรู้แบบเล็กน้อยพบได้บ่อยในผู้ที่จะทำ CABG แม้กระทั่งก่อนการผ่าตัดและอาจจะเป็นเสมือนตัวแทนในการบ่งบอกว่าอาจมีโรคหลอดเลือดสมองอยู่เดิม
  การคัดกรองการรับรู้ก่อนการผ่าตัดอาจจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการประเมินผู้ป่วยดังกล่าว ถึงแม้ว่าการลดลงของระดับการรับรู้จะมีได้บ้างในระยะสั้นซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเป็นวันถึงสัปดาห์หลังจากการทำ CABG โดยการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงและเกิดชั่วคราว และการลดลงของการรับรู้ยังสามารถสังเกตได้เป็นปีหลังจากการทำ CABG แต่ระดับความรุนแรงจะคล้ายคลึงกับลดลงของการรับรู้ที่เกิดในภายหลังซึ่งมีการรายงานในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดบายพาสเช่นกัน
  การรับรู้ที่ลดลงที่เกิดขึ้นภายหลังมีความเกี่ยวข้องมากที่สุดกับการดำเนินของโรหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองมากกว่าการใช้เครื่องปอด-หัวใจเทียม
  กลวิธีหนึ่งในการลดความเสี่ยงจากการลดการสูญเสียการรับรู้ที่เกิดภายหลังคือการควบคุมที่เข้มงวดเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้สำหรับโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อาหาร, การออกกำลังกาย, ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอล
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Stroke
  -Incidence and Diagnosis
  -Pathophysiology
  -Patient-Related Factors Associated with Neurologic Morbidity
  -Stroke Prevention
  -Management Implications
Cognitive Decline
  -Preoperative Cognitive Status
  -Short-Term Postoperative Cognitive Decline
  -Long-Term Postoperative Cognitive Decline
Conclusions
Source Information

อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1100109

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น