วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

1,505. การตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งตับ hepatocellularcinoma

การตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งตับไม่แนะนำสำหรับประชากรทั่วไปเนื่องจากมีอัตราการเกิดมะเร็งตับต่ำมาก เพียงประมาณ 0.0005 % ต่อปี ซึ่งโดยทั่วไปการตรวจคัดกรองควรมีอัตราการเกิดโรคมากกว่า 0.2 %ต่อปี ในกลุ่มประชากรจึงจะมีประโยชน์ในการตรวจคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ

กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งตับ
1. ผู้ป่วยโรคตับแข็งทั้งเพศหญิงและชาย (evidence grade III, recommendation grade B) มีอัตราการเกิดมะเร็งตับสูงถึง 1-4 %ต่อปี
2. ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี หรือผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอดหรือวัยเด็ก และยังไม่มีโรคตับแข็งแต่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับสูงในเพศชาย อายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี และมีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว (hepatitis annual update 2004)
3. ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่มี fibrosis stage 3 และ 4 รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว
วิธีการและระยะเวลาการตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
วิธีที่ยอมรับและเลือกใช้ในการตรวจคัดกรองหามะเร็งตับทั่วโลกในปัจจุบัน ได้แก่ตรวจเลือดหาค่า Alfa-fetoprotein (AFP) ร่วมกับการทำ ultrasonography (US) ทุก 3-6 เดือน ในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ
-Alfa-fetoprotein (AFP) ในการตรวจคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วย chronic hepatitis มี sensitivity และ specificity ค่อนข้างต่ำ โดยมีsensitivity 39-64 % , specificity 76-91 % และมีpositive predictive value 9-32 % จึงต้องใช้การตรวจวิธีอื่นๆร่วมด้วย
-Alfa-fetoprotein (AFP) มีค่าปกติ 10-20 ng/ml และค่าที่ใช้วินิจฉัยมะเร็งตับถ้ามากกว่า 400 ng/ml ค่า cut-off level มีตั้งแต่20-100%แต่ยังไม่มีค่าที่เหมาะสมจะใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าความผิดปกติระดับใดต้อง
ได้รับการตรวจเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามหากพบว่าระดับ alfa-fetoprotein (AFP)มากกว่า100 ng/ml สมควรได้รับการตรวจทางรังสีวิทยาเพิ่มเติม
-Ultrasonography (US) มีsensitivity 71-78 % specificity 93 % และมี positive predictive value14-73 %
หมายเหตุ
การตรวจทางรังสีมีหลายวิธีได้แก่ การทำ ultrasonography (US), computer tomography (CT), magnetic
resonance imaging (MRI), angiography และ positron emission tomography (PET scan) ฯลฯ

Ref:
-แนวทางเวชปฏิบัตการดูแลรักษาผู้ป่วย โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
http://www.lampangcancer.com/lpccWebnew/images/pdf/upWEB/CPG10/9CPGCaHccCH.pdf
-อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/data/person/liver_couse.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น