วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,265. การพันรัดแขน-ขาในกรณีที่ถูกงูกัด

การพันรัดแขน-ขาในกรณีที่ถูกงูกัด

อาจจะมีคำถามว่าถ้าสงสัยว่าเป็นงูมีพิษกัดควรจะรัดแขนขาหรือไม่? ถ้าทำต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง? จากแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิต ปี 2010 ได้เขียนไว้ว่า


CPR 2010 (ใหม่) การพันรัดแผลให้อยู่นิ่ง (pressure immobilization bandage) โดยใช้ความดันระหว่าง 40-70 มม.ปรอท สำหรับแขน และระหว่าง 55-70 มม.ปรอท สำหรับขา พันตลอดความยาวของแขนหรือขาที่โดนกัด นับเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลในการลดการไหลเวียนของน้ำเหลือง (lymph flow) เพื่อลดการกระจายของพิษงู

ส่วน CPR 2005 (เก่า) ในฉบับปีค.ศ. 2005 นั้น แนะนำให้ใช้ การพันรัดแผลให้อยู่นิ่ง (pressure immobilization bandage) ดังกล่าว เฉพาะกับผู้ป่วยที่ถูกงูที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic venom) กัดเท่านั้น

เหตุผล: มีการรายงานถึงผลดีที่เกิดจากการพันรัดแผลดังกล่าวข้างต้น ในผู้ป่วยที่ถูกงูพิษชนิดอื่นๆ (ในอเมริกา) กัดด้วย
 
เพิ่มเติม: จากรูปจะเห็นว่าเป็นการพันรัดตลอดความยาวของแขนหรือขาที่โดนกัดและใช้วัสดุดามเพื่อลดการเคลื่อนไหวอีกที ไม่ใช่แค่การรัดเหนือแผลเท่านั้น
 

Ref: สรุปแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิต ปี 2010

http://www.thaicpr.com/sites/default/files/guidelineHL-ver2.pdf

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ18/8/54 19:27

    ที่ว่าพันผ้าโดย"ใช้ความดันระหว่าง 40-70 มม.ปรอท" ใช้อะไรเป็นตัววัดคะ ?รบกวนสอบถามหน่อยนะคะ

    ตอบลบ
  2. เป็นการประเมิน โดยพันให้แน่นแบบพอดี ไม่แน่นหรือหลวมเกินไปครับ

    Link ref: http://emedicine.medscape.com/article/770053-treatment

    โดยส่วนตัวคิดว่าอาจลองใช้ cuff ของเครื่องวัด BP รัดที่แขนและขาแล้วลองขึ้นความดันในระดับดังกล่าว จะทำให้พอจะนึกภาพหรือความแน่นได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นครับ เมื่อมี case จะได้ประมาณความแน่นได้ถูกครับผม

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ19/8/54 00:10

    ขอบพระคุณมากค่ะ เป็นประโยชน์มากค่ะ ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อด้วยนะคะ

    ตอบลบ