วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,287. Left anterior hemiblock

เราอาจจะไม่ค่อยได้อ่าน EKG ว่ามี Left anterior hemiblock หรือจดจำเกณฑ์การวินิจฉัยไม่ได้ ลองมาทบทวนกันดูนะครับ

การนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจ เมื่อลงมาที่ Left bundle branch จะแยกเป็น 2 ทาง ได้แก่ left anterior fascicle และ left posterior fascicle

Left anterior fascicular block (LAFB) หรืออาจเรียกว่า left anterior hemiblock (LAHB) ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าผ่าน left posterior fascicle ไปก่อนด้าน anterior ทำให้เกิดการช้าของการกระตุ้นฝั่ง anterior และ lateral walls ของหัวใจห้องล่างซ้าย
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน QRS axis ไปด้านซ้ายและขึ้นด้านบนแล้วก่อให้เกิด left axis deviation ได้อย่างมากๆ การช้ายังทำให้เกิดการกว้างของ QRS complex ถึงแม้ว่าจะไม่ถึงกับเกิด complete LBBB (ไม่ส่งผลต่อการ depolarize LV มากนัก, QRS <  0.12 s.)

เกณฑ์การวินิจฉัย LAHB
-Left axis deviation (usually between -45° and -90°), some consider -30° to meet criteria
-QRS interval < 0.12 seconds
-qR complex in the lateral limb leads (I and aVL)
-rS pattern in the inferior leads (II, III, and aVF)
-Delayed intrinsicoid deflection in lead aVL (> 0.045 s)

ข้อยกเว้น 
-จะไม่เรียก LAHB ในกรณีที่เพิ่งมีการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจที่ inferior wall เนื่องจากจะเกิดมี initial forces (Q wave ใน Qr complex) ในลีดII, III, and aVF
-ตรงข้ามกับ LAHB พบว่าการเกิด left axis shift เนื่องมาจาก terminal forces (เช่น the S wave ใน rS complex) ซึ่งจะมีทิศทางขึ้นทางด้านบน

ผลของ LAHB ต่อการอ่านภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและการหนาของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย 
LAHB จะสามารถทำให้เกิด poor R wave progression ในหลายลีดของ precordium ทำให้ดูเหมือนว่าจะเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (pseudoinfarction pattern mimicking) ของ anteroseptal wall และยังทำให้มีลักษณะเหมือน LVH อีกด้วย เนื่องจากจะทำให้เกิด R wave ตัวใหญ่ใน aVL ดังนั้นการจะบอกว่ามี LVH ใน EKG ที่เป็น LAHB ควรที่จะเห็น strain pattern และการมี limb lead criteria ร่วมด้วย

ความสัมคัญทางคลินิก
สามารถพบได้ประมาณ 4% ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นความผิดปกติของการนำกระแสไฟฟ้าระหว่างหัวใจห้องล่างที่พบได้บ่อยที่สุดในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ anterior wall ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงโดย left anterior descending artery
และยังสามารถพบได้ในกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของ inferior wall รวมทั้งยังสัมพันธ์กับhypertensive heart disease, aortic valvular disease, cardiomyopathies และdegenerative fibrotic disease of the cardiac skeleton


กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด


เพิ่มเติม: LAHB: LV จะถูก activate จากล่างขึ้นบนและจากขวาไปซ้ายทำให้เกิด  left axis มากๆ นั่นคือหากพบ LAD มาก ๆ เช่น -45 ถึง -90 องศา ให้สงสัยว่ามี LAHB
(จาก ECG for medical student ของ อ. อภิชาต สุคนธสรรพ์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น