วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,269. neurocysticercosis

ชาย 60 ปี ชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ไม่รู้สึกตัว กัดลิ้น เป็นมา 3 ครั้ง หลังหายชักดีแล้วไม่มี Focal neurological deficit ผลตรวจ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ลักษณะที่พบความผิดปกติเป็นดังภาพ
ลักษณะความผิดปกติที่พบคืออะไร? อยู่ที่ตำแหน่งใด? จะสามารถอธิบายอาการชักได้หรือไม่? จะให้การรักษาอย่างไร?




ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
จากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองพบ Round hyperdensity lesion 1 รอยโรคที่ high of right frontal ทำให้คิดถึงว่าอาจเป็น calcified cysticercotic ได้

ในผู้ป่วยที่เป็น neurocysticercosis นั้น เกิดจากการรับประทานอาหาร ผักสดหรือน้ำดื่มที่มีไข่พยาธิปนเปื้อน ไข่พยาธิที่ลงไปในลำไส้เล็ก เกลือน้ำดีในลำไส้เล็กจะทำให้มีการเจริญไปเป็น mature oncosphere (embryo) ในลำไส้ และผ่านเยื่อบุผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดหรือทางเดินน้ำเหลือง แล้วกระจายไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง กล้ามเนื้อ ชั้นใต้ผิวหนัง เป็นต้น จาก oncosphere จะเจริญไปเป็นตัวอ่อนอยู่ในถุงน้ำเรียก cysticercus ขนาดกว้าง 3- 6 มิลลิเมตร ยาว 5- 8 มิลลิเมตร ภายในเวลา 60-70 วัน

อาการของโรคที่มีรายงานมากที่สุดคือ ชัก ซึ่งพบได้ร้อยละ 70-90 ของผู้ป่วย
ลักษณะของอาการชักมีได้ทั้งแบบชักทั้งตัวหรือชักเฉพาะที่ก่อนแล้วจึงกระจายไปทั้งตัว ส่วน complex partial seizure พบได้น้อยกว่า 9 อาการชักอาจเกิดได้ใน 2 กรณีคือ acute symptomatic seizure เป็นอาการชักที่เกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบจากการหลั่ง แอนติเจนออกมาจากรอยโรคในช่วงที่มีการเปลี่ยนระยะของซีสต์ (transitional form) หรือเริ่มมีการเสื่อม (degenerative phase) และการชักแบบที่ 2 คือ remote symptomatic seizure พบในรอยโรคที่เป็นหินปูนแล้วโดยสมองรอบๆ จะมี gliosis ซึ่งเป็นจุดกำเนิดการชักของสมอง ผู้ป่วยมักมีอาการชักเป็นซ้ำๆ และเรื้อรัง
การวินิจฉัยโรค neurocysticercosis ยังเป็นปัญหาในปัจจุบัน เนื่องจากอาการของโรคไม่จำเพาะและการวินิจฉัยโรคโดยอาศัยภาพถ่ายรังสียังไม่มีลักษณะที่จำเพาะ การใช้การตรวจทางซีโรโลยีก็ยังมีปัญหาในแง่ความไวของการตรวจต่ำโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเพียงหนึ่งตำแหน่ง
เกณฑ์การวินิจฉัยต้องใช้อาการทางคลินิก ภาพถ่ายรังสีของสมอง การตรวจทางซีโรโลยี และข้อมูลทางระบาดวิทยา เพื่อทำให้การวินิจฉัยโรคมีความจำเพาะมากขึ้น โดยมีเกณฑ์การวินิจฉัย
การรักษา neurocysticercosis ขึ้นอยู่กับอาการแสดง จำนวนและตำแหน่งของซีสต์ ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรค การรักษาประกอบด้วยการรักษาตามอาการ เช่น ยากันชัก ยาแก้ปวด การใช้ยาฆ่าพยาธิ (antiparasitic drugs) และการผ่าตัด
ในผู้ป่วยที่มีเฉพาะ calcified lesion มีความเห็นว่าไม่ต้องใช้ของยาฆ่าพยาธิเนื่องจากพยาธิในระยะนี้ตายแล้ว

อ้างอิงและอ่านต่อ: http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/parasite/Cysticercosis/Cysticercosis.htm

1 ความคิดเห็น:

  1. Neurocysticercosis
    R/o precipitation seizure. +focal cortical brain lesion
    Plan AED

    เดานะครับ

    ตอบลบ