วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

2,405 พยาธิสรีระวิทยาของการเกิดโรคเบาหวานจากการตั้งครรภ์

ภาวะดื้อต่ออินซูลินในช่วงการตั้งครรภ์เกิดจากหลายๆ ปัจจัย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของ growth hormone และการหลั่ง cortisol (ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ตรงข้่ามกับอินซูลิน) การหลั่ง human placental lactogen (ซึ่งถูกผลิตโดยรกและมีผลต่อกรดไขมันและการเผาผลาญกลูโคส, การส่งเสริมการสลายไขมัน, และการลดการดูดเก็บกลูโคส), และการหลั่ง insulinase (ซึ่งถูกผลิตโดยรกและส่งเสริญการเผาผลาญอาหารของอินซูลิน) นอกจากนั้น estrogen และ progesterone นำไปสู่​​การความไม่สมดุลของกลูโคส-อินซูลิน การเพิ่มการสะสมไขมันของมารดา การลดการออกกำลังกาย และแคลอรี่ที่เพิ่มขึ้นยังนำไปสู่​​สถานะเสมือนว่าไม่สามารถทนต่อน้ำตาลได้ (relative glucose intolerance)
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดได้แก่ การที่เคยมีบุตรตัวโตมากกว่า 4,000 กรัม, อยู่ในกลุ่มเชื้อชาติที่มีอัตราการโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูง, polycystic ovarian syndrome, ความดันโลหิตชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุหรือที่เกิดจากการตั้งครรภ์, มีประวัติการแท้งที่เกิดขึ้นเองหรือทารกตายคลอดที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้, มีประวัติในครอบครัวของโรคเบาหวานอย่างชัดเจน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในญาติสายตรงลำดับแรก), โรคอ้วน (น้ำหนักการตั้งครรภ์มากกว่า 110% ของน้ำหนักตัวที่เหมาะหรือดัชนีมวลกาย [BMI] มากกว่า 30), อายุมากกว่า 25 ปี, มีน้ำตาลในปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง, และประวัติของ GDM ในการตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้ และพบว่าไม่ทราบปัจจัยเสี่ยงได้ถึง 50% ของผู้ป่วย GDM

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2582643/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น