วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

2,470 ว่าด้วยเรื่องยาปฏิชีวนะ ceftazidime

Ceftazidime จัดอยู่ในกลุ่ม 3rd generation cephalosporins, semisynthetic, broad-spectrum, beta-lactam antibiotic เป็น bactericidal โดยการยับยั้งเอนไซม์ในการสังเคราะห์ผนังเซลของแบคทีเรีย สามารถครอบคลุมเชื้อแกรมลบและเชื้อที่ดื้อต่อ aminoglycosides ครอบคลุมเชื้อ Pseudomonas spp. ซึ่งไม่ใช่แค่เฉพาะ Pseudomonas pseudomallei (ปัจจุบันคือ Burkholderia pseudomallei หรือที่เรียกว่าโรค melioidosis ) แต่ยังรวมถึง Pseudomonas spp. อื่นๆ ด้วย เช่น Pseudomonas aeruginosa โดยสามารถดู spp. ต่างๆ ของ Pseudomonas ได้ตามลิ้งค์นี้ และยังครอบคลุมถึงเชื้อ Enterobacteriaceae ตลอดจนเชื้อแกรมบวก ซึงคุณสมบัติที่ครอบคลุมเชื้อ Pseudomonas นี่เองที่เป็นจุดแยกยานี้จาก cephalosporins ตัวอื่นๆ แต่ก็มีข้อมูลว่าในบางพื้นที่เชื้อ Pseudomonas ค่อนข้างดื้อต่อ ceftazidime มากจนใช้ไม่ได้ผล)
และในบางครั้งเราอาจตรวจเพื่อหาว่ามีการติดเชื่อโดยใช้ melioid titer ซึ่งใช้การตรวจโดยวิธี indirect haemagglutination test (IHA) พบว่าถ้าใช้จุดตัดของระดับแอนติบอดี้ที่ 1:160 จะมีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยโรคคิดเป็นร้อยละ 49-79 และ 67-97 ตามลำดับ (บางอ้างอิง จะมีความไวและความจำเพาะเพียงร้อยละ 70) แต่ถ้าใช้จุดตัดที่ระดับแอนติบอดี้ 1:320 จะมีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัย โรคที่ร้อยละ 30-63 และ 79-99 ตามลำดับ
เพิ่มเติม
ซึ่่งโรค melioidosis จะมีความรุนแรงแตกต่างกันไปตั้งแต่รุนแรงเฉียบพลันเสียชีวิตอย่างรวดเร็วจนถึงกึ่งเฉียบพลันและเป็นเรื้อรัง การรักษาโดยให้การรักษาแบบ intensive phase ด้วยยา ceftazidime หรือ  meropenem หรือ imipenem ทางหลอดเลือดดำ 10 - 14 วัน ตามด้วยการให้ยา Trimethoprim–sulfamethoxazole (TMP-SMX) โดยการรับประทานต่อเป็นเวลา 3 - 6 เดือน

ซึ่งในความเห็นของผมคิดว่าถ้าผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะที่ไม่ครอบคลุมเชื้อนี้หรือได้ยาอื่นแต่ไข้และอาการไม่ดีขึ้น รวมถึงผู้ป่วยมีความเสี่ยง-ปัจจัยต่อการเกิดโรคนี้ อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีเชื้อนี้อยู่เป็นประจำ หรือกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงตั้งแต่แรก การคิดถึงในจุดนี้และการให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อก็น่าจะได้ประโยชน์ต่อผู้ป่วย และปัจจุบันราคายาและการเข้าถึงยาก็มีมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรพิจารณาเป็นรายๆ ประกอบกับข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วย และการตรวจเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่จำเพาะ และอย่าลืมในเรื่องของความไวและความจำเพาะของการตรวจแต่ละชนิดด้วย เนื่องจากจะมีผลต่อทั้งการรักษาทั้งในระยะสั้นและอาจรวมถึงในระยะยาวด้วยครับ

Ref: http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=8760&gid=1
เมลิออยโดสิส (Melioidosis) ผศ. ศิริลักษณ์ อนันต์ณัฐศิริ ลิ้งค์
http://www.phimaimedicine.org/2010/01/257melioid-titer.html
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1204699

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น