โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ สามารถแบ่งได้โดยใช้ตาม White classification โดยดูจากระดับน้ำตาลในเลือด (ส่วนของ ADA จะไม่ได้แยกในรายละเอียดของ GDM ต่อ)
-Class A1 หมายถึง ระดับกลูโคสหลังงดอาหารน้อยกว่า 105 มก./ดล. และระดับกลูโคสหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง (2-hour-postprandial plasma glucose) น้อยกว่า 120 มก./ดล. ซึ่งพบเป็นส่วนใหญ่ (95%) สามารถให้การรักษาโดยการควบุมอาหารและการออกกำลังกาย (การออกกำลังกายจะทำให้การควบคุมได้ดีกว่าการควบุมอาหารเพียงอย่างเดียว)
-Class A2 หมายถึงระดับกลูโคสหลังงดอาหารมากกว่าหรือเท่ากับ 105 มก./ดล. ขึ้นไป และ/หรือ กลูโคสหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง มากกว่าหรือเท่ากับ 120 มก./ดล. ขึ้นไป พบได้ประมาณ 5% โดยมีประมาณ 10-15% จะกลายเป็น overt DM ในตอนท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ จำเป็นต้องให้การรักษาด้วยอินซูลิน
Ref: http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1328
http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=176&Itemid=115
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2582643/
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556
2,404 ข้อควรทราบเรื่องการแบ่งชนิดและระดับความรุนแรงโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ (GDM)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น