วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

2,411 Internuclear ophthalmoplegia with one and a half syndrome

Ocular motor system แบ่งตามตำแหน่งทางกายวิภาคได้เป็น infranuclear, nuclear, internuclear, และ supranuclear โดยมี medial longitudinal fasciculus (MLF) เป็นตัวเชื่อมประสานโดยบริเวณนี้จะทำหน้าที่เกียวกับการเคลื่อนไหวลูกตา
เมื่อเกิดรอยโรคที่บริเวณ MLF ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเข้ามาทางด้านใน (adduction) คือเสียการทำงานของ median rectus muscle ซึ่งเลี้ยงโดย CN III เมื่อเรามองไปทางด้านตรงข้าม (ของด้วยตาข้างปกติ) ตาที่มีปัญหาจะเลื่อนเข้ามาทางด้านในได้น้อยกว่าปกติหรือไม่ได้เลย จะเกิดการมองเห็นภาพซ้อน รวมถึงอาจมี nystagmus ของตาข้างที่ดี ดังรูปภาพ

เมื่อมองวัตถุที่เคลื่อนเข้าใกล้ตา (ตามปกติลูกตาสองข้างจะเคลื่อนเข้าแนวกลาง) แต่ตาข้างที่ผิดปกติจะไม่สามารถทำไม่ได้จะทำให้เกิดภาพซ้อนในแนวนอน ส่วนการมองวัตุที่เคลื่อนออกไปจากตา (ตามปกติลูกตาสองข้างจะเคลื่อนออกจากแนวกลาง) ซึ่งจะไม่พบความผิดปกติ เพราะลูกตาสองข้างสามารถเคลื่อนออกจากแนวกลางได้
สาเหตุเกิดจากมีความผิดปกติของ medial longitudinal fasciculus (MLF) ทั้งการบาดเจ็บและโรค เช่น ในคนอายุน้อยเป็นทั้งสองข้างมักเกิดจาก multiple sclerosis หรือในผู้สูงอายุที่เป็นข้างเดียวก็อาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
ส่วน one and a half syndrome หมายถึงการมีรอยโรคเกิดที่ paramedian pontine reticular formation (PPRF) เกิด lateral gaze palsy คือจะเสียทั้ง abduction และ adduction และการที่มี  internuclear ophthalmoplegia ในตาอีกข้างหนึ่ง ( MLF ทางด้านนี้ข้ามมาจากอีกฝั่งนะครับ) เมื่อรวมกันจะทำให้เกิดความผิดปกติได้ดังรูปด้านล่าง ตรงรอยโรคที่ 3 ครับ ซึ่งที่มาของคำว่า one and a half syndrome ก็คงจะมาจากการที่มีการเสียการเคลื่อนไหวของลูกตาในแนวนอนทั้งสองข้างใน 1 ตา และสูญเสียอีกครึ่งหนึ่งของตาอีกข้างหนึ่งนั่นเอง

โดยสาเหตุอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง, เนื้องอก, การติดเชื้อ และ demyelinating conditions เช่น multiple sclerosis.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น