วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

261. Oculomotor nerve (CN.3)/parasympathetic injury[internal ophthalmoplegia]

ชาย 46 ปี ได้รับบาดเจ็บรอบๆ ตาซ้าย ตามองไม่ชัด, PE: Lt. periorbital contusion, mild hyphema, VA: Rt. 6/18 pinhole 6/12, Lt. 6/60 pinhole 6/24, Pupil Rt. 2 mm. RTL, Lt. 4 mm. NRTL ทั้ง direct and indirect light reflex, Good ROM both eyes, eye ball in mid position คิดว่า lesion น่าจะเป็นอะไร รักษาอย่างไร
คิดถึงการบาดเจ็บเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 ในส่วนของ Visceral motor(parasympathetic) fiber โดยเกิดลักษณะของ internal ophthalmoplegia
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 ประกอบด้วย fiber 2 ชนิด คือ
1. Somatic motor fiber ที่ supply กล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลอกตาได้แก่ SR, IR, MR, IO และ lavator muscles
2. Visceral motor(parasympathetic) fiber ที่ควบคุมการทำงานของ iris sphinctor และ ciliary muscles ดังนั้นหากเกิดภยันตรายต่อ CN. 3 ผู้ป่วยอาจมี
- External ophthalmoplegia คือ มีหนังตาตก (ptosis), ตาเข (paralytic strabismus) จากกล้ามเนื้อควบคุมการกลอกตาไม่ทำงาน แต่ส่วน parasympathetic ยังดีอยู่ ผู้ป่วยจะมี pupil และ accommodation ปกติ
- Internal ophthalmoplegia ผู้ป่วยจะมีอัมพาตของส่วน parasympathetic ดังนั้น pupil จะขยายโตขึ้น (Mydriasis) ไม่หดตัว และความสามารถในการ accommodation เสียไป แต่จะยังกลอกตาและลืมตาได้เป็นปกติ
- Total ophthalmoplegia คือผู้ป่วยจะมีการสูญเสียการทำงานของ CN.3 ทั้งหมด ดังนั้นจะมีอาการจากข้อ 1, 2 รวมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น