วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

317. Hypertension management

หญิง 50 ปี ไม่มีโรคประจำตัว มีเรื่องเครียดที่ทำงาน มาตรวจพบ BP 210/120 mmHg. [ วัดซ้ำแล้ว ] PE.
อื่น ๆ ปกติ จะให้การดูแลรักษาอย่างไร





















ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
1. ระดับความรุนแรงของ SBP และ DBP (ระดับที่ 1-3)
2. ระดับของ pulse pressure (ในผู้สูงอายุ) มากกว่า 90 มม.ปรอท
3. ชายอายุ มากกว่า 55 ปี / หญิงอายุ มากกว่า 65 ปี
4. สูบบุหรี่
5. ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ total cholesterol มากกว่า190 มก./ดล. หรือ LDL-C มากกว่า115 มก./ดล. หรือ ระดับ HDL-C มากกว่า 40 มก./ดล.ในชายและ มากกว่า46 มก./ดล. ในหญิง หรือระดับ triglyceride มากกว่า150 มก./ดล .
6. FPG 100-125 มก./ดล
7. Glucose tolerance test ผิดปกติ
8. ประวัติการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในบิดา มารดาหรือพี่น้องก่อนเวลาอันสมควร (ชายเกิดก่อนอายุ 55 ปี หญิงเกิดก่อนอายุ 65 ปี)
9. อ้วนลงพุงเส้นรอบเอว มากกว่า 90 ซม.ในเพศชาย และ มากกว่า 80 ซม.ในเพศหญิง


ร่องรอยการทำลายของอวัยวะจากโรคความดันโลหิตสูง โดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการทางคลินิก (Organ damage-OD)1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบ left ventricular hypertrophy (LVH) (Sokolow-Lyon มากกว่า38 mm; Cornell มากกว่า 2440 mm.ms) และใชใ้ นการตรวจหา “strain pattern” ซึ่งพบใน ventricular overload, หัวใจขาดเลือด, กระแสไฟฟ้าหัวใจติดขัด (heart block) และหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
2. Echocardiography พบ LVH (LVMI ชาย มากกว่า125 กรัม/ม2, หญิง มากกว่า 110 กรัม/ม2)
3. Carotid wall thickness (IMT มากกว่า0.9 มม.) หรือ plaque
4. Carotid-femoral pulse wave velocity มากกว่า12 ม./วินาที
5. Ankle/brachial BP index มากกว่า 0.9
6. ระดับ plasma creatinine (ชาย 1.3-1.5 มก./ดล., หญิง 1.2-1.4 มก./ดล.)
7. GFR มากกว่า 60 มล./นาที/1.73 ม2 (MDRD formula) หรือ creatinine clearance มากกว่า 60 มล./นาที (Cockroft-Gault formula)
8. ปัสสาวะพบ microalbuminuria (30-300 มก./วัน) หรือ albumin-creatinine ratio ชาย มากกว่า 22 มก./กรัม, หญิง มากกว่า 31 มก./กรัม
มีโรคดังนี้

โรคเบาหวาน
1. FPG มากกว่า 126 มก./ดล. โดยมีการตรวจซ้ำ หรือ
2. Postload plasma glucose มากกว่า198 มก./ดล.
ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหวั ใจและหลอดเลือดและโรคไต (established cardiovascular and renal disease)
1. โรคหลอดเลือดสมอง
- Ischemic stroke
- Cerebral hemorrhage
- Transient ischemic attack (TIA)
2. โรคหัวใจ
- Myocardial infarction
- Angina pectoris
- Coronary revascularization
- Congestive heart failure
3. โรคไต
- Diabetic nephropathy
- ไตเสื่อมสมรรถภาพ: plasma creatinine มากกว่า1.5 มก./ดล.ในชาย, มากกว่า 1.4 มก./ดล. ในหญิง
- Albuminuria มากกว่า 300 มก./วัน หรือ proteinuria มากกว่า 500 มก./วัน
4. โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
5. จอประสาทตาผิดปกติ
- Hemorrhage
- Exudates
- Papilledema





เน้นการดูแลในระยะยาวนะครับ ถ้าวัดซ้ำแล้วว่า BP สูงจริง นำข้อมูลทั้งหมดจาก 3หัวข้อ มาเทียบกับในตารางแล้วจะได้เป็นความเสี่ยงออกมาจะพบว่าผู้ป่วยควรจะได้รับการรักษาเลยเนื่องจากระดับความดันโลหิตสูงในระดับที่ 3 แม้ผู้ป่วยจะยังไม่มีโรคต่างๆ ดังกล่าว และยังไม่ได้นำข้อมูลความเสียงหรือ organ damate มาใช้ [ความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงสูงมากให้รักษาโดยการเริ่มยาเลย] ดูตามแผนภูมิ



http://www.thaihypertension.org/2008guideline.pdf

1 ความคิดเห็น:

  1. ิbed rest+BP manual ซ้ำ
    admit observe or admit ward
    ซักประวัติ เรื่อง ปวด /stress/ fever/ sleep deprivation/ drug/ smoking/ family hx/ อ้วน /artherosclerosis risk/ ยาเสพติด/ สุรา/

    ถ้ามี captopril ก็ให้กิน+/- amlodipine
    ลด BP ช้า ๆ ไม่เกิน 20% ของ ของเดิม

    ตอบลบ