วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

397. Iron overload/iron chelating agent

หญิง 34 ปี underlying hereditary spherocytosis เคยได้เลือดในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ไม่เกิน 10 unit และผล ferritin เป็นดังนี้, [SGOT 84, SGPT 78] จะต้องให้ iron chelating agent หรือไม่ อย่างไร?
Serum ferritin เป็นวิธีตรวจที่ง่ายสะดวกใช้กันแพร่หลาย แต่ค่าที่ได้จากการตรวจครั้งเดียวจะไม่แม่นยำ เนื่องจากบางภาวะ เช่น การติดเชื้อ inflammation, hepatitisจะทำให้ serum ferritin มีค่าสูง(fluctuation) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ตรวจเป็นการติดตามระยะยาว (serial assessment) หรือใช้ติดตามผลการรักษาด้วยยาขับธาตุเหล็ก โดยตั้งเป้าไว้ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,000 ม.ก./ดล. ผู้ป่วยที่มีค่า serum ferritinที่มากกว่า 2,500 ม.ก./ดล. มีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหัวใจและเป็นตัวพยากรณ์ว่าอัตรารอดชีวิตจะน้อยกว่า นอกจากนั้นยังมีการตรวจอื่นๆ อีกได้แก่
-Liver iron concentration (LIC) เป็นวิธีมาตรฐาน (gold standard) ในการประเมินภาวะเหล็กเกินที่เชื่อถือได้มากที่สุด (most reliable)
-Magnetic resonance imagine (MRI)
เป็นการตรวจวัดปริมาณธาตุเหล็กในตับ(R2-MRI) และในหัวใจ
-Superconducting quantum interface device (SQUID) เป็นเครื่องวัดระดับธาตุเหล็กในตับ

ข้อบ่งใช้ (indication) ยาขับธาตุเหล็ก
1. ผู้ป่วย transfusion dependent thalassemia
ที่มีอาการรุนแรงได้แก่ β-thalassemia major
และ/หรือ β-thalassemia/Hb E เป็นต้น
2. ได้รับเลือดมามากกว่า 10-20 ครั้ง
3. Serum ferritin มากกว่า 1,000 ng/ml
โดยยาขับธาตุเหล็กมีทั้งชนิดให้ทางใต้ผิวหนังและชนิดรับประทาน
ข้อห้ามใช้
ในผู้ป่วยแพ้ต่อยา deferoxamine
ยังไม่มีการศึกษาผลของยานี้ในผู้ป่วยตั้งครรภ์ ถ้าจำเป็นต้องใช้ในคนตั้งครรภ์ ควรใช้ในกรณีที่เกิดภาวะเหล็กเป็นพิษอย่างรุนแรงเท่านั้น
เพิ่มเติม: จาก LFT ถ้า ALT, AST > 40 โดยไม่มีสาเหตุมาจากอย่างอื่น => Iron overload rule out ไม่ได้
อ่านรายละเอียดต่อ http://www.thalassemia.or.th/iron-overload3.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น